ระบบย่อยอาหาร


ระบบย่อยอาหาร (Digestive system)
ระบบย่อยอาหาร (Digestive system)

       ทำไมร่างกายต้องย่อยอาหาร?
          อย่างที่ทราบกันว่า ร่างกายของมนุษย์ต้องการสารอาหารไปเลี้ยงร่างกาย แต่อาหารที่เราทานเข้าไป ทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน ล้วนแล้วแต่มีโมเลกุลขนาดใหญ่เกิดกว่าที่เซลล์และเนื้อเยื่อของเราจะดูดซึมเข้าไปได้ ดังนั้น นี่จึงเป็นหน้าที่สำคัญของระบบย่อยอาหาร หรือระบบทางเดินอาหาร ที่จะย่อยอาหารต่าง ๆ ให้เล็กลงจนลำเลียงเข้าสู่เยื่อหุ้มเซลล์ได้

ความสำคัญของการย่อยอาหาร
อาหารที่สิ่งมีชีวิตบริโภคเข้าไป ไม่ว่าจะเป็นชนิดใดก็ตาม จะนำเข้าสู่เซลล์ได้ก็ต่อเมื่อยู่ในรูปของสารอาหารที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก คือ กรดอะมิโน น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว กลีเซอรอลและกรดไขมัน นั่นก็คืออาหารโมเลกุลใหญ่ที่สิ่งมีชีวิตรับประทานเข้าไปจำเป็นต้องแปรสภาพให้มีขนาดเล็กลง การแปรสภาพของอาหารดังกล่าวเกิดจากปฏิกิริยาเคมีที่อาศัยการทำงานของเอนไซม์ย่อยอาหาร โดยทั่วไปเรียกกันว่า “น้ำย่อยจากนั้นโมเลกุลของสารอาหารจะถูกดูดซึมเข้าสู่เซลล์ กระบวนการแปรสภาพอาหารที่มีโมเลกุลใหญ่ให้มีโมเลกุลเล็กลง เรียกว่า การย่อยอาหาร (digestion)

วิธีการย่อยอาหาร

การย่อยอาหาร มี 2 ประเภท คือ
 1. การย่อยเชิงกล (mechanical digestion) เป็นขั้นตอนที่อาหารชิ้นใหญ่ถูกทำให้เป็นชิ้นเล็กลง โดยการบดเคี้ยวด้วยฟัน หรือ การบีบตัวของทางเดินอาหาร
 2. การย่อยทางเคมี (chemical digestion) เป็นขั้นตอนที่โมเลกุลของสารอาหารโมเลกุลใหญ่ ถูกเปลี่ยนสภาพให้มีโมเลกุลเล็กลง โดยใช้เอนไซม์ (enzyme) เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีขึ้น การย่อยทางเคมีจะเกิดขึ้นได้ต้องใช้น้ำย่อยเฉพาะอย่างปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นนี้ จะต้องมีน้ำเข้ามาร่วมในกระบวนการแตกสลายสารโมเลกุลใหญ่ให้มีโมเลกุลเล็กลง เราเรียกกระบวนการแตกสลายสารอาหารที่มีโมเลกุลใหญ่ ให้มีโมเลกุลเล็กลงโดยอาศัยน้ำว่าไฮโดรไลซีส (hydrolysis)

อวัยวะที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการย่อยอาหาร
1.1 ตับ     มีหน้ามี่สร้างน้ำดีส่งไปเก็บที่ถุงน้ำดี 
1.2 ตับอ่อน      มีหน้าที่สร้างเอนไซม์ส่งไปย่อยอาหารที่ลำไส้เล็ก 
1.3 ลำไส้เล็ก     สร้างเอนไซม์มอลเทส ซูเครส และแล็คเทสย่อยอาหารที่ลำไส้เล็ก

เอนไซม์ (Enzyme)
เป็นสารประกอบประเภทโปรตีนที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อทำหน้าที่เร่งอัตราการเกิดปฎิกิริยาเคมีในร่างกาย เอนไซม์
ที่ใช้ในการย่อยสารอาหารเรียกว่า น้ำย่อย เอนไซม์มีสมบัติที่สำคัญ ดังนี้
-        เป็นสารประเภทโปรตีนที่สร้างขึ้นจากเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
-        ช่วยเร่งปฎิกิริยาในการย่อยอาหารให้เร็วขึ้นและเมื่อเร่งปฎิกิริยาแล้วยังคงมีสภาพเดิมสามารถใช้เร่งปฎิกิริยา
โมเลกุลอื่นได้อีก
-        มีความจำเพาะต่อสารที่เกิดปฎิกิริยาชนิดหนึ่งๆ
-        เอนไซม์จะทำงานได้ดีเมื่ออยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม

 ปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานของเอนไซม์ ได้แก ่::
1.       อุณหภูมิ เอนไซม์แต่ละชนิดทำงานได้ดีที่อุณหภูมิต่างกัน แต่เอนไซม์ในร่างกายทำงานได้ดี
ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส
2.     ความเป็นกรด - เบส เอนไซม์บางชนิดทำงานได้ดีเมื่อมีสภาพที่เป็นกรด เช่น เอนไซม์เพปซินในกระเพาะอาหาร
เอนไซม์บางอย่างทำงานได้ดีในสภาพที่เป็นเบส เช่น เอนไซม์ในลำไส้เล็ก เป็นต้น
3.     ความเข้ม เอนไซม์ที่มีความเข้มข้นมากจะทำงานได้ดีกว่าเอนไซม์ที่มีความเข้มข้นน้อย

การทำงานของเอนไซม์ จำแนกได้ดังนี้
1.       เอนไซม์ในน้ำลาย ทำงานได้ดีในสภาวะเป็นเบสเล็กน้อยเป็นกลางหรือกรดเล็กน้อยจะขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำตาลและที่อุณหภูมิปกติของร่างกายประมาณ 37 องศาเซลเซียส
2.     เอนไซม์ในกระเพาะอาหาร ทำงานได้ดีในสภาวะเป็นกรดและที่อุณหภูมิปกติของร่างกาย
3.     เอนไซม์ในลำไส้เล็ก ทำงานได้ดีในสภาวะเป็นเบสและอุณภูมิปกติร่างกาย
ระบบย่อยอาหารของคนประกอบด้วยอวัยวะ ดังต่อไปนี้ 
อวัยวะที่เป็นทางเดินอาหาร : ทำหน้าที่ในการรับและส่งอาหารโดยเริ่มจาก
ปาก  คอหอย  หลอดอาหาร  กระเพาะ  ลำไส้เล็ก  ลำไส้ใหญ่  ทวารหนัก


            ปาก (mouth)  มีการย่อยเชิงกล โดยการบดเคี้ยวของฟัน และมีการย่อยทางเคมีโดยเอนไซม์อะไมเลสหรือไทยาลีน ซึ่งทำงานได้ดีในสภาพที่เป็นเบสเล็กน้อย 

แป้ง  → น้ำตาลมอลโตส   (maltose)
       ต่อมน้ำลายมี 3 คู่ ได้แก่ ต่อมน้ำลายใต้ลิ้น 1 คู่ ต่อมน้ำลายใต้ขากรรไกรล่าง 1 คู่ ต่อมน้ำลายใต้กกหู 1 คู่ ต่อมน้ำลายจะผลิตน้ำลายได้วันละ 1 – 1.5 ลิตร

คอหอย (pharynx)    เป็นทางผ่านของอาหาร ซึ่งไม่มีการย่อยใดๆ ทั้งสิ้น 

     หลอดอาหาร (esophagus) มีลักษณะเป็นกล้ามเนื้อเรียบมีการย่อยเชิงกลโดยการบีบตัวของกล้ามเนื้อทางเดินอาหาร เป็นช่วงๆ เรียกว่า เพอริสตัสซิส (peristalsis)” เพื่อให้อาหารเคลื่อนที่ลงสู่กระเพาะอาหาร   

กระเพาะอาหาร (stomach)  มีการย่อยเชิงกลโดยการบีบตัวของกล้ามเนื้อทางเดินอาหารและมีการย่อยทางเคมีโดยเอนไซม์เพปซิน (pepsin) ซึ่งจะทำงานได้ดีในสภาพที่เป็นกรด  โดยชั้นในสุดของกระเพาะจะมีต่อมสร้างน้ำย่อยซึ่งมีเอนไซม์เพปซินและกรดไฮโดรคลอริก เป็นส่วนประกอบเอนไซม์เพปซินจะย่อยโปรตีนให้เป็นเพปไทด์ (peptide)ในกระเพาะอาหารนี้ยังมีเอนไซม์อยู่อีกชนิดหนึ่งชื่อว่า เรนนิน '' ทำหน้าที่ย่อยโปรตีนในน้ำนม ในขณะที่ไม่มีอาหาร กระเพาะอาหารจะมีขนาด 50 ลูกบาศก์เซนติเมตร แต่เมื่อมีอาหารจะมีการขยายได้อีก 10 – 40 เท่า
                                                                              เพปซิน
                              โปรตีน             เพปไทด์
สรุป    การย่อยที่กระเพาะอาหารจะมีการย่อยโปรตีนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
ลำไส้เล็ก (small intestine) เป็นบริเวณที่มีการย่อยและการดูดซึมมากที่สุด โดยเอนไซม์ในลำไส้เล็กจะทำงานได้ดีในสภาพที่เป็นเบส ซึ่งเอนไซม์ที่ลำไส้เล็กสร้างขึ้น ได้แก่
มอลเทส (maltase) เป็นเอนไซม์ที่ย่อยน้ำตาลมอลโทสให้เป็นกลูโคส
ซูเครส (sucrose) เป็นเอนไซม์ที่ย่อยน้ำตาลทรายหรือน้ำตาลซูโครส (sucrose) ให้เป็นกลูโคสกับ
ฟรักโทส (fructose)
แล็กเทส (lactase) เป็นเอนไซม์ที่ย่อยน้ำตาลแล็กโทส (lactose) ให้เป็นกลูโคสกับกาแล็กโทส (galactose)    
การย่อยอาหารที่ลำไส้เล็กใช้เอนไซม์จากตับอ่อน (pancreas) มาช่วยย่อย เช่น
ทริปซิน (trypsin) เป็นเอนไซม์ที่ย่อยโปรตีนโปรตีนหรือเพปไทด์ให้เป็นกรดอะมิโน
อะไมเลส (amylase) เป็นเอนไซม์ที่ย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาลมอลโทส
ไลเปส (lipase) เป็นเอนไซม์ที่ย่อยไขมันให้เป็นกรดไขมันและกลีเซอรอล    

น้ำดี (bile) เป็นสารที่ผลิตมาจากตับ (liver) แล้วไปเก็บไว้ที่ถุงน้ำดี (gall bladder) น้ำดีไม่ใช่เอนไซม์เพราะไม่ใช่สารประกอบประเภทโปรตีน น้ำดีจะทำหน้าที่ย่อยโมเลกุลของโปรตีนให้เล็กลงแล้วน้ำย่อยจากตับอ่อนจะย่อยต่อทำให้ได้อนุภาคที่เล็กที่สุดที่สามารถแพร่เข้าสู่เซลล์    


อาหารเมื่อถูกย่อยเป็นโมเลกุลเล็กที่สุดแล้ว จะถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็ก โดยโครงสร้างที่เรียกว่า วิลลัส (villus)” ซึ่งมีลักษณะคล้ายนิ้วมือยื่นออกมาจากผนังลำไส้เล็ก ทำหน้าที่เพิ่มเพิ่มพื้นที่ผิวในการดูดซึมอาหาร

ลำไส้ใหญ่ (large intestine) ที่ลำไส้ใหญ่ไม่มีการย่อย แต่ทำหน้าที่เก็บกากอาหารและดูดซึมน้ำออกจากกากอาหาร ดังนั้น ถ้าไม่ถ่ายอุจจาระเป็นเวลาหลายวันติดต่อกันจะทำให้เกิดอาการท้องผูก ถ้าเป็นบ่อยๆจะทำให้เกิดโรคริดสีดวงทวาร

ทวารหนัก (Anus) อวัยวะส่วนสุดท้ายของลำไส้ใหญ่ เป็นช่องแคบ ๆ ยาว 2.5-3.5 เซนติเมตร ทำหน้าที่ขับถ่ายอุจจาระ ภายในประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบ และกล้ามเนื้อหูรูด 2 แห่ง คือ หูรูดภายใน (Internal Sphincter) และหูรูดภายนอก (External Sphincter) ซึ่งประกอบด้วยกล้ามเนื้อลาย ทำหน้าที่ปิดกักกากอาหารไว้ เมื่อต้องการขับถ่ายกากอาหารหูรูดเหล่านี้ก็จะหย่อนยอมให้กากอาหารผ่านออกไปได้


                      https://health.kapook.com/view64063.html
                      http://www.med.cmu.ac.th/…/vascular/human/lesson/lesson1.php



อาหารหลัก 5 หมู่ และประโยชน์ต่อสุขภาพ
โดยปกติแล้ว ร่างกายของคนเราควรได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ร่างกายสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เนื่องจากการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์จะทำให้ร่างกายแข็งแรง ป้องกันการเจ็บป่วยได้ง่าย แต่การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หากแต่สารอาหารที่ร่างกายได้รับนั้นไม่ครบทั้ง 5 หมู่อย่างที่ควรได้รับก็ถือว่าร่างกายยังไม่สมบูรณ์และแข็งแรงได้อย่างแท้จริง
อาหารหมู่ที่ 1 โปรตีน 
สำหรับอาหารหมู่ที่ 1 นั้นประกอบไปด้วยอาหารประเภทเนื้อสัตว์ นม ไข่ และถั่วต่างๆ ซึ่งอาหารประเภทนี้จะให้สารอาหารประเภทโปรตีนแก่ร่างกาย เพื่อให้ร่างกายมีความเจริญเติบโต อีกทั้งยังทำให้ร่างกายมีความแข็งแรงขึ้นอีกด้วย ไม่เพียงเท่านั้น มันยังทำหน้าที่ช่วยเสริมภูมิต้านทานเพื่อป้องกันโรคให้แก่ร่างกายได้เป็นอย่างดี
สำหรับร่างกายที่ได้รับบาดเจ็บจากการเกิดอุบัติเหตุจนทำให้ร่างกายเกิดการสึกหรอ สารอาหารเหล่านี้ก็ช่วยซ่อมแซมในส่วนนั้นได้ดีทีเดียว ในส่วนของอาหารประเภทนี้ยังถูกนำไปสร้างกระดูก เลือด กล้ามเนื้อ ผิวหนัง น้ำย่อย เม็ดเลือด และฮอร์โมน รวมทั้งภูมิต้านทานเชื้อโรคต่างๆ ดังนั้นจึงถือว่าอาหารที่อยู่ในหมู่ที่ 1 นี้ จัดเป็นอาหารหลักที่มีความสำคัญในการสร้างโรคงสร้างของร่างกายในการเจริญเติบโต และช่วยทำให้อวัยวะต่างๆ ในร่างกายสามารถทำงานได้เป็นปกติยิ่งขึ้น
ประเภทของสารอาหารหมู่ที่ 1
สารอาหารที่อุดมอยู่ในอาหารหมู่ที่ 1 นั้นก็คือ โปรตีน ซึ่งโปรตีนจะประกอบไปด้วยสารเคมี 2 ชนิดด้วยกันคือ
1. กรดอะมิโนจำเป็น คือ กรดอะมิโนที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นมาเองได้ ดังนั้นร่างกายจึงต้องได้รับกรดอะมิโนประเภทนี้จากการรับประทานเข้าไป
     2. กรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น คือ กรดอะมิโนที่ร่างกายได้รับจากการรับประทานอาหาร และยังได้รับจากการสร้างขึ้นมาเองของร่างกายอีกด้วย
ประโยชน์ของสารอาหารหมู่ที่ 1
1.  โปรตีนเป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย
     2. ร่างกายมีความต้องการโปรตีนอยู่เสมอเพื่อนำโปรตีนไปซ่อมแซมเนื้อเยื่อในส่วนที่สึกหรออยู่ทุกวัน
   3. โปรตีนมีส่วนช่วยรักษาดุลน้ำ เพราะโปรตีนที่มีอยู่ในเซลล์และหลอดเลือดจะช่วยรักษาปริมาณน้ำในเซลล์และหลอดเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่มีความเหมาะสม
4. ช่วยรักษาดุลกรด ด่างของร่างกาย เนื่องจากกรดอะมิโนนั้นจะมีหน่วยคาร์บอกซีลที่มีฤทธิ์เป็นกรดและเป็นด่าง ดังนั้นโปรตีนจึงมีคุณสมบัติช่วยรักษาดุลกรด ด่างนั่นเอง และนั่นก็ถือเป็นสิ่งสำคัญต่อการเกิดปฏิกิริยาต่างๆ ภายในร่างกาย
ถ้าร่างกายขาดโปรตีนจะมีผลอย่างไร
โปรตีนเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญต่อร่างกายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกายและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ดังนั้นเมื่อขาดโปรตีนหรือได้รับโปรตีนจากอาหารน้อยเกินไป ก็จะมีผลต่อร่างกายดังต่อไปนี้
-        กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีอาการเหน็บชา และเป็นตะคริวบ่อยครั้ง
-        รู้สึกอ่อนเพลีย เจ็บป่วยง่าย ในผู้หญิงอาจพบปัญหาประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
-        ผิวแห้ง ผมเสียขาดความเงางาม เล็บเปราะบาง แตกหักได้ง่าย
-        มีอาการทางระบบประสาท ความจำไม่ดี จดจำอะไรไม่ได้ คิดอะไรไม่ออก ร่วมกับมีความรู้สึกหดหู่ กังวลใจ
-        หาดขาดโปรตีนในวัยเด็ก จะส่งผลให้เด็กมีร่างกายแคระแกร็น ไม่สามารถเจริญเติบโตได้เต็มที่เหมือนกับเด็กในวัยเดียวกัน
อาหารหมู่ที่ คาร์โบไฮเดรต 
อาหารหมู่ที่ 2 ประกอบไปด้วยข้าว น้ำตาล แป้ง มัน และเผือก เป็นต้น ซึ่งอาหารประเภทนี้จะให้สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตแก่ร่างกาย และนั่นก็คือการให้พลังงานแก่ร่างกายนั่นเอง มันจึงทำให้ร่างกายของคนเราสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งยังให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายอีกด้วย ในส่วนของพลังงานที่ได้รับจากการทานอาหารประเภทนี้โดยส่วนใหญ่จะหมดไปเป็นวันต่อวัน จากการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น ทำงาน ออกกำลังกาย และเดิน เป็นต้น แต่หากคุณรับประทานอาหารประเภทนี้มากเกินความต้องการของร่างกายก็จะทำให้พลังงานถูกเปลี่ยนไปเป็นไขมัน จนทำให้เกิดโรคอ้วนตามมา
ประเภทของสารอาหารหมู่ที่ 2
คาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายได้รับจากการรับประทานอาหารประเภทนี้สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกันคือ
1. โนโนแซ็กคาไรด์ คือ คาร์โบไฮเดรตที่มีขนาดของโมเลกุลเล็กที่สุด จะดูดซึมจากลำไส้ได้เลยเมื่อเข้าสู่ร่างกาย โดยที่ไม่ต้องผ่านการย่อยแต่อย่างใด
       2. ไดแซ็กคาไรด์ คือ คาร์โบไฮเดรตที่มีส่วนประกอบของโมโนแซ็กคาไรด์จำนวน 2 ตัวมารวมกัน เมื่อร่างกายได้รับสารไดแซ็กคาไรด์ จะทำให้น้ำย่อยที่อยู่ในลำไส้เล็กย่อยออกมาเป็นโมโนแซ็กคาไรด์ก่อน ร่างกายจึงนำไปใช้ประโยชน์ได้
       3. พอลีแซ็กคาไรด์ คือ คาร์โบไฮเดรตที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่ที่สุด อีกทั้งยังมีสูตรโครงสร้างที่ซับซ้อน และประกอบไปด้วยโมโนแซ็กคาไรด์จำนวนมากมารวมกัน
ประโยชน์ของสารอาหารหมู่ที่ 2
   1. มีความจำเป็นต่อการเผาผลาญไขมันในร่างกายให้เป็นไปตามปกติ
        2. มีความสำคัญต่อการทำงานของสมอง
        3. สงวนคุณค่าของโปรตีนไม่ให้เกิดการเผาผลาญเป็นพลังงาน หากร่างกายได้รับพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตที่เพียงพอ
        4. คาร์โบไฮเดรตเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50
ของแคลอรีทั้งหมดที่ร่างกายได้รับแต่ละวัน
        5. กรดกลูคูโรนิกซึ่งเป็นสารอนุพันธุ์ของกลูโคสนั้น จะคอยทำหน้าที่ในการเปลี่ยนสารพิษที่เข้าสู่ร่างกายเมื่อสารพิษเหล่านั้นผ่านไปที่ตับให้มีพิษลดลง อีกทั้งยังทำให้สารพิษอยู่ในสภาพที่ขับถ่ายออกมาได้
ถ้าร่างกายขาดโปรตีนจะมีผลอย่างไร
โปรตีนเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญต่อร่างกายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกายและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ดังนั้นเมื่อขาดโปรตีนหรือได้รับโปรตีนจากอาหารน้อยเกินไป ก็จะมีผลต่อร่างกายดังต่อไปนี้
-        กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีอาการเหน็บชา และเป็นตะคริวบ่อยครั้ง
-        รู้สึกอ่อนเพลีย เจ็บป่วยง่าย ในผู้หญิงอาจพบปัญหาประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
-        ผิวแห้ง ผมเสียขาดความเงางาม เล็บเปราะบาง แตกหักได้ง่าย
-        มีอาการทางระบบประสาท ความจำไม่ดี จดจำอะไรไม่ได้ คิดอะไรไม่ออก ร่วมกับมีความรู้สึกหดหู่ กังวลใจ
-        หาดขาดโปรตีนในวัยเด็ก จะส่งผลให้เด็กมีร่างกายแคระแกร็น ไม่สามารถเจริญเติบโตได้เต็มที่เหมือนกับเด็กในวัยเดียวกัน
อาหารหมู่ที่ 3 วิตามินพืชผัก (เกลือแร่) 
อาหารหมู่ที่ 3 ประกอบไปด้วยผักต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตำลึง ผักกาด ผักบุ้ง ผักใบเขียวต่างๆ และผักชนิดอื่นๆ ที่สามารถนำมารับประทานได้โดยไม่ก่อให้เกิดอันตราย ซึ่งอาหารประเภทนี้จะมีส่วนในการให้วิตามินและเกลือแร่แก่ร่างกาย อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างเพื่อให้ร่างกายมีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น ให้ร่างกายได้มีแรงต้านทานต่อเชื้อโรคชนิดต่างๆ แถมยังทำให้อวัยวะต่างๆ ในร่างกายสามารถทำงานได้เป็นปกติอีกด้วย
ประเภทของสารอาหารหมู่ที่ 3
ประเภทของสารอาหารที่ร่างกายจะได้รับจากการทานอาหารในหมู่ที่ 3 นี้ก็คือวิตามิน ซึ่งเป็นวิตามินในกลุ่มของสารอินทรีย์ และยังเป็นสารอาหารที่ร่างกายต้องการจำนวนน้อย เพื่อทำให้เกิดปฏิกิริยาต่างๆ ในร่างกายได้อย่างปกติ เนื่องจากร่างกายไม่สามารถสร้างวิตามินเองได้ ดังนั้นจึงเกิดอาการอาศัยสมบัติของการละลายตัวของวิตามิน และทำให้เกิดการแบ่งวิตามินออกเป็น 2 จำพวกคือ วิตามินที่ละลายตัวในไขมัน และวิตามินที่ละลายในน้ำ
1. วิตามินที่ละลายตัวในไขมัน คือ วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค ซึ่งเป็นวิตามินที่มีการดูดซึมโดยการต้องอาศัยไขมันในอาหาร มีหน้าที่ทางชีวเคมีที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โปรตีนบางชนิดในร่างกาย
       2. วิตามินที่ละลายในน้ำ คือ วิตามินทั้ง 9 ตัว ได้แก่ วิตามินซี 
วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี12 ไนอาซิน กรดแพนโทนิก ไบโอติน และโฟลาซิน เป็นวิตามินที่มีหน้าที่ทางชีวเคมีคือ เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาหรือทำให้ปฏิกิริยาของร่างกายดำเนินไปได้
ประโยชน์ของสารอาหารหมู่ที่ 3
   1. ช่วยในการมองเห็นของดวงตา โดยเฉพาะในสถานที่ที่มีแสงสว่างน้อย
        2. ช่วยเผาผลาญโปรตีนที่อยู่ในร่างกาย เพื่อให้เกิดพลังงาน
        3. มีส่วนสำคัญต่อการทำงานของเซลล์ในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นระบบประสาท 
ไขกระดูก หรือทางเดินอาหาร
 ถ้าร่างกายขาดโปรตีนจะมีผลอย่างไร
โปรตีนเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญต่อร่างกายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกายและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ดังนั้นเมื่อขาดโปรตีนหรือได้รับโปรตีนจากอาหารน้อยเกินไป ก็จะมีผลต่อร่างกายดังต่อไปนี้
-        กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีอาการเหน็บชา และเป็นตะคริวบ่อยครั้ง
-        รู้สึกอ่อนเพลีย เจ็บป่วยง่าย ในผู้หญิงอาจพบปัญหาประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
-        ผิวแห้ง ผมเสียขาดความเงางาม เล็บเปราะบาง แตกหักได้ง่าย
-        มีอาการทางระบบประสาท ความจำไม่ดี จดจำอะไรไม่ได้ คิดอะไรไม่ออก ร่วมกับมีความรู้สึกหดหู่ กังวลใจ
-        หาดขาดโปรตีนในวัยเด็ก จะส่งผลให้เด็กมีร่างกายแคระแกร็น ไม่สามารถเจริญเติบโตได้เต็มที่เหมือนกับเด็กในวัยเดียวกัน
อาหารหมู่ที่ 4 วิตามินผลไม้
        อาหารประเภทนี้ประกอบไปด้วยผลไม้ชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น กล้วย ส้ม มะละกอ แอปเปิล ลำไย มังคุด และอื่นๆ ซึ่งผลไม้เหล่านี้จะให้สารอาหารประเภทวิตามินและเกลือแร่ ซึ่งเป็นสารที่จะช่วยทำให้ร่างกายของคนเรามีความแข็งแรงพร้อมทั้งมีแรงในการต้านทานโรค แถมยังมีกากใยอาหารที่ช่วยทำให้การขับถ่ายของลำไส้เป็นไปตามปกติอีกด้วย
ประเภทของสารอาหารหมู่ที่ 4
ประเภทของสารอาหารที่จะได้รับจากอาหารหมู่นี้นั่นก็คือ เกลือแร่ ซึ่งเป็นเกลือแร่ที่จัดอยู่ในกลุ่มของสารอนินทรีย์ที่ร่างกายขาดไม่ได้เลย ทั้งนี้มีการแบ่งเกลือแร่ชนิดนี้ออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
       1. เกลือแร่ที่มนุษย์ต้องการในปริมาณที่มากกว่าวันละ 100 มิลลิกรัม นั่นก็คือ แมกนีเซียม โซเดียม กำมะถัน ฟอสฟอรัสโพแทสเซียม คลอรีน และแคลเซียม
        2. เกลือแร่ที่มนุษย์ต้องการในปริมาณวันละ 2-3 มิลลิกรัม นั่นก็คือ เหล็ก โครเมียม ไอโอดีน ทองแดง โคบอลต์ สังกะสี แมงกานีส ซีลีเนียม ฟลูออรีนและโมลิบดีนัม
 ประโยชน์ของสารอาหารหมู่ที่ 4
        1. ช่วยควบคุมความเป็นกรด ด่างในร่างกาย เพราะ โพแทสเซียม คลอรีน ฟอสฟอรัส และโซเดียม มีหน้าที่สำคัญในการช่วยควบคุมความเป็นกรด ด่างในร่างกาย
        2. ช่วยควบคุมสมดุลน้ำ เนื่องจากโพแทสเซียมและโซเดียมมีส่วนช่วยในการควบคุมความสมดุลของน้ำทั้งที่อยู่ภายในและภายนอกเซลล์

        3. มีส่วนช่วยในการเร่งปฏิกิริยา เนื่องจากปฏิกิริยาหลายชนิดที่อยู่ในร่างกายจะดำเนินไปได้นั้น ต้องมีเกลือแร่เป็นตัวเร่ง เช่น แมกนีเซียม ถือเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีความเกี่ยวข้องกับการเผาผลาญกลูโคสให้เกิดพลังงาน
ถ้าร่างกายขาดวิตามินจากผลไม้จะมีผลอย่างไร
มีประโยชน์เช่นเดียวกับวิตามินในพืชผักและมีความจำเป็นต่อร่างกายเป็นอย่างมากเช่นกัน ซึ่งพบว่าหากขาดวิตามินเหล่านี้ไปก็จะส่งผลกระทบต่อร่างกายได้ดังนี้
-        ทำให้ระบบภูมิต้านทานต่ำลง และเกิดการเจ็บป่วยได้ง่ายหรือมีสุขภาพที่อ่อนแอลงอย่างเห็นได้ชัด
-        มักจะมีอาการท้องผูกบ่อยๆ รวมถึงทำให้ระบบการขับถ่ายแปรปรวนได้ เพราะได้รับใยอาหารที่มีในผลไม้น้อยเกินไป
-        เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกอ่อนหรือกระดูกพรุน เนื่องจากขาดวิตามินและแร่ธาตุสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูกนั่นเอง
-        อาจมีปัญหาตาฝ้าฟางและระบบประสาทผิดปกติ
อาหารหมู่ที่ 5 ไขมัน
สำหรับอาหารในหมู่นี้ประกอบไปด้วยกะทิมะพร้าว น้ำมันรำ น้ำนมถั่วเหลือง และน้ำมันปาล์ม เป็นต้น ซึ่งอาหารประเภทนี้จะมีส่วนในการให้สารอาหารประเภทไขมันแก่ร่างกาย จึงทำให้ร่างกายมีการเจริญเติบโต อีกทั้งร่างกายจะเกิดการสะสมพลังงานที่ได้จากอาหารประเภทนี้ไว้ใต้ผิวหนังตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น บริเวณสะโพก และบริเวณต้นขา เป็นต้น และไขมันที่สะสมไว้นี้จะให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ทั้งยังเป็นพลังงานที่สะสมไว้ใช้ในเวลาที่จำเป็นระยะยาวอีกด้วย
 ประเภทของสารอาหารหมู่ที่ 5
สำหรับประเภทของสารอาหารในอาหารหมู่นี้ก็คือ ไขมัน ซึ่งเป็นสารอินทรีย์กลุ่มหนึ่งที่ไม่สามารถละลายได้ในน้ำ แต่จะสามารถละลายได้ดีในน้ำมันและไขมันด้วยกัน ตัวอย่างเช่น ไขมันที่มีความเกี่ยวข้องกับสุขภาพของคน คือ ไตรกลีเซอไรด์และคอเสเตอรอล โดยส่วนใหญ่ไขมันทั้งสองชนิดนี้จะอยู่ในอาหาร และในส่วนของประเภทกรดไขมันจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
  1. กรดไขมันไม่จำเป็น คือกรดไขมันที่นอกจากร่างกายจะได้รับจากการรับประทานอาหารแล้ว ร่างกายยังสามารถสังเคราะห์กรดไชมันชนิดนี้ได้อีกด้วย นั่นก็คือ กรดสเตียริกและกรดโอเลอิก
       2. กรดไขมันจำเป็น คือ กรดไขมันที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์เองได้ ร่างกายจะได้รับจากการรับประทานอาหารเข้าไป โดยกรดไขมันชนิดนี้จะมีอยู่ด้วยกัน 3 ตัวคือ กรดไลโนเลอิก กรดไลโนเลนิก และกรดอะแรคิโดนิก
ประโยชน์ของสารอาหารหมู่ที่ 5
   1. ไขมันในปริมาณ 1 กรัม จะให้พลังงานมากถึง 9 กิโลแคลอรี ให้กรดไขมันที่จะเป็นต่อการช่วยในการดูดซึมของวิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี แบะวิตามินเค
        2. ไขมันจะทำให้รสชาติของอาหารถูกปาก แต่ทั้งนี้ก็ต้องมีไขมันในปริมาณที่พอเหมาะ
        3. มีส่วนช่วยทำให้อิ่มท้องได้นาน ไม่ทำให้รู้สึกหิวบ่อยๆ
ถ้าร่างกายขาดวิตามินจากผลไม้จะมีผลอย่างไร
มีประโยชน์เช่นเดียวกับวิตามินในพืชผักและมีความจำเป็นต่อร่างกายเป็นอย่างมากเช่นกัน ซึ่งพบว่าหากขาดวิตามินเหล่านี้ไปก็จะส่งผลกระทบต่อร่างกายได้ดังนี้
-        ทำให้ระบบภูมิต้านทานต่ำลง และเกิดการเจ็บป่วยได้ง่ายหรือมีสุขภาพที่อ่อนแอลงอย่างเห็นได้ชัด
-        มักจะมีอาการท้องผูกบ่อยๆ รวมถึงทำให้ระบบการขับถ่ายแปรปรวนได้ เพราะได้รับใยอาหารที่มีในผลไม้น้อยเกินไป
-        เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกอ่อนหรือกระดูกพรุน เนื่องจากขาดวิตามินและแร่ธาตุสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูกนั่นเอง
-        อาจมีปัญหาตาฝ้าฟางและระบบประสาทผิดปกติ


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

VDO การทดลองเล่น Application Scratch Jr

Outdoor Learning คุณนายตื่นสาย